Connect with us
02-464-5575
info@nutramedica.co.th
กระดูกของมนุษย์ นั้นจะเริ่มเสื่อมและบางลง เมื่อมีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป เนื่องจาก กระดูกจะสลายตัวเร็วกว่าการสร้างใหม่ทดแทน จึงเป็นผลให้ผู้สูงอายุมักมีมวลกระดูกน้อยลง กระดูกเล็กและบางลง มีความแข็งแกร่งลดลง เปราะ แตกหักง่าย หรืออย่างที่เราเรียกว่าภาวะกระดูกบาง หรือกระดูกพรุนนั่นเอง ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิต และการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก โดยที่ผู้หญิงมีโอกาสที่กระดูกจะเสื่อมได้มากกว่าผู้ชาย นอกจากอายุที่เพิ่มขึ้น จะเป็นปัจจัยต่อการสลายตัวของกระดูกแล้ว วิถีชีวิตในปัจจุบันมีส่วนสำคัญต่อการเสื่อมของกระดูกได้เร็บวขึ้นอีกด้วย เช่นความเครียด ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่ด้อยคุณภาพ มีแคลเซียมน้อย โดยเฉพาะผู้หญิงที่มักมีการสะสมเนื้อกระดูกเอาไว้น้อยกว่าผู้ชาย อีกทั้งยังมีเรื่องของการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างรวดเร็ว ในวัยหมดประจำเดือนดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จึงทำให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อกระดูกบาง พรุน มากเป็นพิเศษ
อาการของกระดูกพรุนผู้ที่มีกระดูกพรุนจะส่งผลให้ กระดูกจะหักง่ายกว่าปกติ และบริเวณที่เสี่ยงต่อการหัก คือ ระดูกข้อมือ ข้อเท้า กระดูกสันหลัง และกระดูกสะโพก ซึ่งจะเป็นอันตรายมากขึ้น ถึงกับตัวเตี้ยลง หลังงอ ปวดหลังอย่างรุนแรง จนอาจเกิดโรคแทรกซ้อน จนถึงแก่ชีวิตได้เสริมมวลกระดูกด้วยสารอาหารแคลเซียม เพื่อ ป้องกันกระดูกพรุนแม้จะยังไม่มียาอะไรใช้ป้องกันการเกิดกระดูกพรุนได้ แต่เราสามารถชะลอการเกิดกระดูกพรุนได้โดยรักษามวลกระดูกให้คงความหนาแน่นไว้ได้นานที่สุด ด้วยการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ร่างกายได้ดูดซึมแคลเซียมไปสะสมไว้เป็นต้นทุนของกระดูก โดยเราสามารถหาแคลเซียมได้จากอาหารต่างๆ เช่น อาหารจำพวกปลาตัวเล็กตัวน้อย ที่รับประทานได้พร้อมกระดูก กุ้งที่รับประทานได้พร้อมเปลือก เช่น กุ้งแห้ง ผักใบเขียว เช่น คะน้า บรอกโคลี งาดำ ถั่ว เต้าหู้และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง นม และผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น ร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีการสร้างกระดูกเพิ่มขึ้น ซึ่งควรทำในตอนเช้าๆ เพื่อได้รับแสงแดดอ่อนๆ ช่วยให้ร่างกายสร้างวิตามินดี ซึ่งเป็นตัวช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้ไปสะสมที่กระดูกเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถได้รับวิตามินดีในอาหารจำพวก น้ำมันปลา ไข่แดง ตับ เป็นต้น ในกรณีที่จำเป็นหรือพบว่าอาหารที่ได้รับเป็นประจำมีแคลเซียมไม่เพียงพอ สามารถใช้แคลเซียมเสริมอาหารมาช่วย โดยเลือกอาหารเสริมที่มีแคลเซียมสูง โปรตีนถั่วเหลือง และวิตามินดี เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเสริมสร้างมวลกระดูก เนื่องจากโปรตีนถั่วเหลืองจะช่วยปรับสมดุลย์ของฮอร์โมนเอสโตรเจน และวิตามินดี ยังช่วยดูดซึมแคลเซียมไปยังกระดูกได้อีกด้วย
Phyto-Curmin Plus : UCII+Curcumin Extract
Joinfood MD: Collagen Hydrolysate 100%
JOINFOOD DS: Undenatured Collagen Type II
Hi-flex : Rosehip powder
Soy-D-Cal: The Essence of Calcium Function
Deli-D
Deli Cal-D-C1000 : Calcium + Vitamin C D B6
รู้เท่าทันความเสื่อมของกระดูก
SHARE
กระดูกของมนุษย์ นั้นจะเริ่มเสื่อมและบางลง เมื่อมีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป เนื่องจาก กระดูกจะสลายตัวเร็วกว่าการสร้างใหม่ทดแทน จึงเป็นผลให้ผู้สูงอายุมักมีมวลกระดูกน้อยลง กระดูกเล็กและบางลง มีความแข็งแกร่งลดลง เปราะ แตกหักง่าย หรืออย่างที่เราเรียกว่าภาวะกระดูกบาง หรือกระดูกพรุนนั่นเอง ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิต และการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก โดยที่ผู้หญิงมีโอกาสที่กระดูกจะเสื่อมได้มากกว่าผู้ชาย นอกจากอายุที่เพิ่มขึ้น จะเป็นปัจจัยต่อการสลายตัวของกระดูกแล้ว วิถีชีวิตในปัจจุบันมีส่วนสำคัญต่อการเสื่อมของกระดูกได้เร็บวขึ้นอีกด้วย เช่นความเครียด ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่ด้อยคุณภาพ มีแคลเซียมน้อย โดยเฉพาะผู้หญิงที่มักมีการสะสมเนื้อกระดูกเอาไว้น้อยกว่าผู้ชาย อีกทั้งยังมีเรื่องของการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างรวดเร็ว ในวัยหมดประจำเดือนดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จึงทำให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อกระดูกบาง พรุน มากเป็นพิเศษ
อาการของกระดูกพรุน
ผู้ที่มีกระดูกพรุนจะส่งผลให้ กระดูกจะหักง่ายกว่าปกติ และบริเวณที่เสี่ยงต่อการหัก คือ ระดูกข้อมือ ข้อเท้า กระดูกสันหลัง และกระดูกสะโพก ซึ่งจะเป็นอันตรายมากขึ้น ถึงกับตัวเตี้ยลง หลังงอ ปวดหลังอย่างรุนแรง จนอาจเกิดโรคแทรกซ้อน จนถึงแก่ชีวิตได้
เสริมมวลกระดูกด้วยสารอาหารแคลเซียม เพื่อ ป้องกันกระดูกพรุน
แม้จะยังไม่มียาอะไรใช้ป้องกันการเกิดกระดูกพรุนได้ แต่เราสามารถชะลอการเกิดกระดูกพรุนได้โดยรักษามวลกระดูกให้คงความหนาแน่นไว้ได้นานที่สุด ด้วยการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ร่างกายได้ดูดซึมแคลเซียมไปสะสมไว้เป็นต้นทุนของกระดูก โดยเราสามารถหาแคลเซียมได้จากอาหารต่างๆ เช่น อาหารจำพวกปลาตัวเล็กตัวน้อย ที่รับประทานได้พร้อมกระดูก กุ้งที่รับประทานได้พร้อมเปลือก เช่น กุ้งแห้ง ผักใบเขียว เช่น คะน้า บรอกโคลี งาดำ ถั่ว เต้าหู้และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง นม และผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น ร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีการสร้างกระดูกเพิ่มขึ้น ซึ่งควรทำในตอนเช้าๆ เพื่อได้รับแสงแดดอ่อนๆ ช่วยให้ร่างกายสร้างวิตามินดี ซึ่งเป็นตัวช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้ไปสะสมที่กระดูกเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถได้รับวิตามินดีในอาหารจำพวก น้ำมันปลา ไข่แดง ตับ เป็นต้น ในกรณีที่จำเป็นหรือพบว่าอาหารที่ได้รับเป็นประจำมีแคลเซียมไม่เพียงพอ สามารถใช้แคลเซียมเสริมอาหารมาช่วย โดยเลือกอาหารเสริมที่มีแคลเซียมสูง โปรตีนถั่วเหลือง และวิตามินดี เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเสริมสร้างมวลกระดูก เนื่องจากโปรตีนถั่วเหลืองจะช่วยปรับสมดุลย์ของฮอร์โมนเอสโตรเจน และวิตามินดี ยังช่วยดูดซึมแคลเซียมไปยังกระดูกได้อีกด้วย
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
Phyto-Curmin Plus : UCII+Curcumin Extract
Joinfood MD: Collagen Hydrolysate 100%
JOINFOOD DS: Undenatured Collagen Type II
Hi-flex : Rosehip powder
Soy-D-Cal: The Essence of Calcium Function
Deli-D
Deli Cal-D-C1000 : Calcium + Vitamin C D B6