Connect with us
02-464-5575
info@nutramedica.co.th
อาการข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุเป็นปัญหาที่พบบ่อย และมีผลต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก ซึ่ง อาจเกิดขึ้นจากการเสื่อมของข้อตามวัย น้ำหนักตัวที่มากเกินไปส่งผลให้ข้อต้องรับน้ำหนักตัวอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งท่านั่งต่างๆก็มีผลด้วยเช่น การนั่งไขว่ห้าง การนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า หรือนั่งยองๆ เป็นเวลานานๆ ก็จะส่งผลให้เกิดการปวดข้อเข่า การทำกิจวัตรประจำวันต่างๆก็ทำด้วยความยากลำบากมากขึ้น
คุณเข้าข่ายข้อเข่าเสื่อมแล้วหรือยัง ?ถ้าคุณเริ่มรู้สึกเป็นกังวลว่าจะเป็นโรคข้อเสื่อมแบบเดียวกับเพื่อนในวัย เดียวกันแล้วหรือเปล่านั้น วันนี้เรามีคำตอบง่ายๆเพื่อตรวจสอบอย่างเบื้องต้นว่า คุณเข้าข่ายเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแล้วหรือยังค่ะเริ่มมีอาการปวดเข่า โดยเฉพาะเมื่อมีการยืนลงน้ำหนัก หรือมีการงอข้อเข่าเป็นเวลานานๆข้อเข่ามีลักษณะ บวม แดง แสบ ร้อน หรือรู้สึกอุ่นๆ เมื่อสัมผัส ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่ข้อมีการอักเสบข้อฝืดแข็ง ติดขัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดขึ้นหลังตื่นนอนข้อเกิดการแข็งเมื่อมีการวางขาอยู่ในท่าเดิมนานๆ และอาการจะดีขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อเข่ากระดูกสะบ้าติด แข็ง ขยับลำบากกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอ่อนแรง จนอาจเกิดการลีบของกล้ามเนื้อ และมักเกิดขึ้นที่บริเวณหน้าต้นขา และสะโพกเป็นต้นมีเสียงดังในข้อเข่าขณะที่มีการเคลื่อนไหว และจะเป็นมากในกรณีที่มีการเดิน หรือขึ้น-ลงบันไดข้อเข่ามีขนาดบวมใหญ่มากขึ้นในรายที่มีอาการปวดเข่ามาก และทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน จะพบว่าเข่ามีการโก่ง หรือโค้งผิดรูปมากขึ้น
3 วิธี ดูแลข้อเข่าด้วยตนเองพยายามควบคุมน้ำหนัก หรือลดน้ำหนักตัวเพื่อป้องกันไม่ให้ข้อเข่ารับน้ำหนักมากเกินไปหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการลงน้ำหนัก หรือใช้แรงที่ข้อเข่ามากเกินไป และนานเกินไป เช่น การนั่งยองๆ การนั่งพับเพียบ นั่งไขว่ห้าง นั่งขัดสมาธิ การขึ้น-ลงบันไดมากเกินไป การงอเข่ามากๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหมที่บริเวณข้อเข่าโดยตรง เช่น การวิ่ง กระโดด เป็นต้นหมั่นบริหารกล้ามเนื้อรอบๆเข่าอย่างถูกวิธี
การดูแลเบื้องต้นในผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อเข่ากรณีที่มีอาการปวด บวม แดง ร้อน ระบม หรือมีการอักเสบบริเวณข้อเข่า ให้ผู้ป่วยหยุดพัก หลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักบนเข่า และให้พักเข่าในท่าที่สบายโดยใช้หมอนบางๆ หรือม้วนผ้าขนหนูเพื่อรองใต้เข่า โดยให้งอเข่าเล็กน้อยประมาณ 10-15 องศา และจึงทำการประคบเย็น โดยใช้ถุงน้ำแข็ง หรือถุงเจลแช่เย็นมาประคบรอบเข่าโดยให้มีผ้าบางๆรองระหว่างผิวหนังกับถุงน้ำ แข็ง และใช้ผ้ายืดพันรอบถุงน้ำแข็งให้แนบกับเข่า ประคบไว้ประมาณ 15-20 นาที ทำเช่นนี้วันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าอาการปวด บวม แดง ร้อน จะทุเลาลง กรณีที่ไม่มีการอักเสบ คือไม่ได้ปวด บวม ระบม เพียงแต่ปวดเมื่อยตึงๆ ที่เข่า ให้ประคบด้วยความร้อนแทน โดยอาจใช้กระเป๋าน้ำร้อน ประคบวันละ 1-2 ครั้ง ครั้งละ 20-30 นาที
Phyto-Curmin Plus : UCII+Curcumin Extract
Joinfood MD: Collagen Hydrolysate 100%
JOINFOOD DS: Undenatured Collagen Type II
Hi-flex : Rosehip powder
Soy-D-Cal: The Essence of Calcium Function
Deli-D
Deli Cal-D-C1000 : Calcium + Vitamin C D B6
คู่มือดูแลข้อเข่าเสื่อม
SHARE
อาการข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุเป็นปัญหาที่พบบ่อย และมีผลต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก ซึ่ง อาจเกิดขึ้นจากการเสื่อมของข้อตามวัย น้ำหนักตัวที่มากเกินไปส่งผลให้ข้อต้องรับน้ำหนักตัวอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งท่านั่งต่างๆก็มีผลด้วยเช่น การนั่งไขว่ห้าง การนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า หรือนั่งยองๆ เป็นเวลานานๆ ก็จะส่งผลให้เกิดการปวดข้อเข่า การทำกิจวัตรประจำวันต่างๆก็ทำด้วยความยากลำบากมากขึ้น
คุณเข้าข่ายข้อเข่าเสื่อมแล้วหรือยัง ?
ถ้าคุณเริ่มรู้สึกเป็นกังวลว่าจะเป็นโรคข้อเสื่อมแบบเดียวกับเพื่อนในวัย เดียวกันแล้วหรือเปล่านั้น วันนี้เรามีคำตอบง่ายๆเพื่อตรวจสอบอย่างเบื้องต้นว่า คุณเข้าข่ายเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแล้วหรือยังค่ะ
เริ่มมีอาการปวดเข่า โดยเฉพาะเมื่อมีการยืนลงน้ำหนัก หรือมีการงอข้อเข่าเป็นเวลานานๆ
ข้อเข่ามีลักษณะ บวม แดง แสบ ร้อน หรือรู้สึกอุ่นๆ เมื่อสัมผัส ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่ข้อมีการอักเสบ
ข้อฝืดแข็ง ติดขัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดขึ้นหลังตื่นนอน
ข้อเกิดการแข็งเมื่อมีการวางขาอยู่ในท่าเดิมนานๆ และอาการจะดีขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อเข่า
กระดูกสะบ้าติด แข็ง ขยับลำบาก
กล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอ่อนแรง จนอาจเกิดการลีบของกล้ามเนื้อ และมักเกิดขึ้นที่บริเวณหน้าต้นขา และสะโพกเป็นต้น
มีเสียงดังในข้อเข่าขณะที่มีการเคลื่อนไหว และจะเป็นมากในกรณีที่มีการเดิน หรือขึ้น-ลงบันได
ข้อเข่ามีขนาดบวมใหญ่มากขึ้น
ในรายที่มีอาการปวดเข่ามาก และทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน จะพบว่าเข่ามีการโก่ง หรือโค้งผิดรูปมากขึ้น
3 วิธี ดูแลข้อเข่าด้วยตนเอง
พยายามควบคุมน้ำหนัก หรือลดน้ำหนักตัวเพื่อป้องกันไม่ให้ข้อเข่ารับน้ำหนักมากเกินไป
หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการลงน้ำหนัก หรือใช้แรงที่ข้อเข่ามากเกินไป และนานเกินไป เช่น การนั่งยองๆ การนั่งพับเพียบ นั่งไขว่ห้าง นั่งขัดสมาธิ การขึ้น-ลงบันไดมากเกินไป การงอเข่ามากๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหมที่บริเวณข้อเข่าโดยตรง เช่น การวิ่ง กระโดด เป็นต้น
หมั่นบริหารกล้ามเนื้อรอบๆเข่าอย่างถูกวิธี
การดูแลเบื้องต้นในผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อเข่า
กรณีที่มีอาการปวด บวม แดง ร้อน ระบม หรือมีการอักเสบบริเวณข้อเข่า ให้ผู้ป่วยหยุดพัก หลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักบนเข่า และให้พักเข่าในท่าที่สบายโดยใช้หมอนบางๆ หรือม้วนผ้าขนหนูเพื่อรองใต้เข่า โดยให้งอเข่าเล็กน้อยประมาณ 10-15 องศา และจึงทำการประคบเย็น โดยใช้ถุงน้ำแข็ง หรือถุงเจลแช่เย็นมาประคบรอบเข่าโดยให้มีผ้าบางๆรองระหว่างผิวหนังกับถุงน้ำ แข็ง และใช้ผ้ายืดพันรอบถุงน้ำแข็งให้แนบกับเข่า ประคบไว้ประมาณ 15-20 นาที ทำเช่นนี้วันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าอาการปวด บวม แดง ร้อน จะทุเลาลง กรณีที่ไม่มีการอักเสบ คือไม่ได้ปวด บวม ระบม เพียงแต่ปวดเมื่อยตึงๆ ที่เข่า ให้ประคบด้วยความร้อนแทน โดยอาจใช้กระเป๋าน้ำร้อน ประคบวันละ 1-2 ครั้ง ครั้งละ 20-30 นาที
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
Phyto-Curmin Plus : UCII+Curcumin Extract
Joinfood MD: Collagen Hydrolysate 100%
JOINFOOD DS: Undenatured Collagen Type II
Hi-flex : Rosehip powder
Soy-D-Cal: The Essence of Calcium Function
Deli-D
Deli Cal-D-C1000 : Calcium + Vitamin C D B6