• HOME
  • ABOUT US
  • PRODUCT
  • BROCHURE
  • HEALTH INFO
  • MEMBER
  • SHOP
Menu
  • HOME
  • ABOUT US
  • PRODUCT
  • BROCHURE
  • HEALTH INFO
  • MEMBER
  • SHOP

Connect with us

02-464-5575

info@nutramedica.co.th

  • HOME
  • ABOUT US
  • PRODUCT

    ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

    ผลิตภัณฑ์ตามหมวดหมู่สุขภาพ

    ไขมันคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์
    ดีท็อกซ์ ล้างสารพิษ
    ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอวัย
    บำรุงกระดูกและข้อ
    บำรุงสมอง ระบบประสาท
    บำรุงสุขภาพตา
    เพิ่มพลังงาน
    เพิ่มภูมิคุ้มกัน
    ภาวะเครียด ปัญหาการนอน
    ระบบทางเดินอาหาร
    โรคอ้วน และเบาหวาน
    วิตามินและแร่ธาตุรวม
    สุขภาพเด็ก
    สุขภาพผิว ผม เล็บ
    หัวใจ หลอดเลือด
    อื่นๆ
  • BROCHURE
  • HEALTH INFO
  • MEMBER
  • SHOP

คู่มือดูแลข้อมือ ข้อนิ้วเสื่อม

SHARE

อาการปวดที่มือ และนิ้วมือนั้น ส่วนมากแล้วจะเป็นอาการของโรคข้อนิ้วมือเสื่อม ซึ่งมักเป็นบริเวณปลายข้อนิ้วมือ และข้อต้นนิ้วมือ โดยอาจเป็นข้อเดียวหรือหลายข้อก็ได้ และจะลุกลามอย่างรวดเร็วในเวลาไม่นาน แต่จะไม่เป็นพร้อมกันทั้งสองข้าง ส่วนใหญ่พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายถึง 10 เท่า และพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ซึ่งการที่เพศหญิงมีโอกาสเป็นข้อนิ้วเสื่อมมากกว่าเพศชายนั้น สาเหตุส่วนหนึ่งคือเชื่อกันว่าเป็นผลจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เนื่องจากพบกับญาติทางฝ่ายหญิงมากกว่าฝ่ายชาย และการถ่ายทอดนี้จะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นในผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป นอกจากพันธุกรรมแล้วข้อนิ้วเสื่อมอาจเกิดขึ้นจากผลของการบาดเจ็บ การใช้งานของข้อนิ้วมือที่มากเกินไปด้วย

อาการของโรคข้อนิ้วเสื่อม
เริ่มแรกผู้ป่วยมักเกิดการติดขัด มีอาการนิ้วแข็ง สังเกตุได้ว่าเวลาตื่นนอนตอนเช้า ผู้ป่วยจะกำมือไม่ค่อยได้ แต่พอใช้มือสักพักแล้วอาการดังกล่าวจะดีขึ้น ต่อมาจะเริ่มมีอาการปวดบริเวณข้อปลายนิ้วมือหรือข้อต้นนิ้วมือเล็กน้อย และปวดมากขึ้นหลังจากที่ใช้ข้อทำงาน และอารปวดจะเป็นรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และในรายที่มีการอักเสบจะทำให้ข้อนิ้วมือมีการบวมแดงบริเวณข้อนิ้วมือร่วมด้วย และเมื่อข้อเสื่อมเป็นเวลานานมากขึ้นจนเป็นเรื้อรัง กระดูกอ่อนที่ผิวข้อจะยิ่งถูกทำลายมากขึ้น จนทำให้เกิดปุ่มกระดูกโผล่ขึ้นมาบริเวณปลายนิ้ว และจะโตโปนออกมา ที่เรียกว่า ปุ่มกระดูกงอกข้อนิ้ว (Heberden’s node)

การดูแลข้อนิ้ว
หลีกเลี่ยงการใช้ข้อทำงานที่หนัก หรือหักโหมเกินไป รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ข้อนิ้วมือเพียงข้อเดียวถือถุงหิ้วที่ใส่ของหนักจนเกินไป เนื่องจากจะทำให้ข้อนิ้วนั้นเกิดการเกร็ง และติดขัดได้ง่าย ถ้าจำเป็นต้องหิ้วให้ใช้ผ้าขนหนูรองก่อน และหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ โดยอาจใช้วิธีอุ้ม หรือใช้รถเข็นลากแทน เพื่อลดการลงน้ำหนักที่ข้อนิ้ว
ถ้าต้องทำงานที่ต้องใช้ข้อนิ้วมือต่อเนื่องเป็นเวลานาน ควรหยุดพัก และออกกำลังกายนิ้วมือบ้าง เพื่อคลายความเกร็ง ติดขัดของข้อนิ้วมือ
พยายามออกกำลัง และเคลื่อนไหวข้อนิ้วอยู่เสมอ รวมทั้งพยายามกำมือบ่อยๆในน้ำร้อน หรือน้ำอุ่น เพื่อให้ลดอาการนิ้วแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเช้าที่ข้อนิ้วมักจะฝืดมากกว่าปกติ
หลีกเลี่ยงการขยับนิ้ว หรือดีดนิ้วเล่น เพราะจะทำให้เกิดการเสียดสีของกระดูกอ่อนที่ข้อด้วย

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

Phyto-Curmin Plus : UCII+Curcumin Extract

Phyto-Curmin Plus : UCII+Curcumin Extract

Joinfood MD: Collagen Hydrolysate 100%

Joinfood MD: Collagen Hydrolysate 100%

JOINFOOD DS: Undenatured Collagen Type II

JOINFOOD DS: Undenatured Collagen Type II

Hi-flex : Rosehip powder

Hi-flex : Rosehip powder

Soy-D-Cal: The Essence of Calcium Function

Soy-D-Cal: The Essence of Calcium Function

Deli-D

Deli-D

Deli Cal-D-C1000 : Calcium + Vitamin C D B6

Deli Cal-D-C1000 : Calcium + Vitamin C D B6

685,687 ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล แขวงแสมดำ
เขตบางขุนเทียน กทม 10150
โทรศัพท์: 02-464-5575 แฟ็กซ์: 02-464-5576
อีเมล์: info@nutramedica.co.th

  • คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์
  • ดีท็อกซ์ ล้างสารพิษ
  • ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอวัย
  • บำรุงกระดูกและข้อ
  • บำรุงสมอง ระบบประสาท
  • สุขภาพตา
  • เพิ่มพลังงาน
  • หัวใจ หลอดเลือด
  • เพิ่มภูมิคุ้มกัน
  • ภาวะเครียด ปัญหาการนอน
  • ระบบทางเดินอาหาร
  • โรคอ้วน และเบาหวาน
  • วิตามินและแร่ธาตุรวม
  • สุขภาพเด็ก
  • สุขภาพผิว ผม เล็บ
  • อื่น ๆ